วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของ Em-Ball

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ Em-Ball โดยทั่วไป ด้านการเกษตร 
- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ 
- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ 
- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี 
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 
- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น 
- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ 
- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม. 
- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ 
- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน 
- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้ 
- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ ด้านการประมง
- ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 
- ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้ 
- ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้ 
- ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี ด้านสิ่งแวดล้อม
- ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้ 
- ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย 
- ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้


ข้อจำกัดของการใช้ EM-Ball


ข้อจำกัดของการใช้ EM-Ball


ซึ่งจริงๆแล้ว เราจะเห็นข่าวกันเยอะไปใช้ EM-Ball ไปโยน EM-Ball นั้น ไม่ได้หมายความว่า มันจะช่วยได้ครอบจักรวาลนะครับ หากแต่ EM Ball เป็นตัวเร่งปฎิกิริยาในสภาพแวดล้อม เท่านั้นเอง พูดง่ายๆคือ เหมือนกับการเปลี่ยนจากการเคี่ยวน้ำซุบกระดูกหมูกันเป็นวัน มาเป็นโยนซุบไก่ ซุบหมูก้อน กันแทนนั่นเองครับ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ

– จุลินทรีย์ที่นำมาทำ EM-ball นั้นมีชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ ที่มาก และไม่เสื่อมสภาพ ดังนั้น น้ำ EM ที่นำมาเป็นหัวเชื้อต้องสดใหม่หน่อยครับ
– ต้องมีปริมาณที่เหมาะสมในการใช้งาน เช่นใน บ่อน้ำที่มีน้ำนิ่ง ก็จะอยู่ที่ EM-Ball 1 ก้อน ต่อ 1 เดือน ต่อน้้าไม่เกิน 5-10 ลบ.ม. ส่วนในน้ำไหลแบบที่เป็นสถานการณ์น้ำท่วมนั้นอาจจะต้องใช้เยอะกว่านั้นมาก ดังนั้น หากน้ำท่วมภายในเขตรั้วบ้านและมีน้ำนิ่ง การเลือกใช้ EM-Ball ลงไปเพื่อลดกลิ่นจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แต่ถ้าจะโยนลงถนนหน้าบ้าน หรืออย่าง ถนนวิภาวดีนั้น จะต้องใช้เยอะมากๆ ดังนั้นถ้าจะใช้กับพื้นที่ถนนหน้าบ้านใคร ก็ควรดูประกอบครับว่า น้ำไหลแรงแค่ไหน ถ้าไม่ค่อยไหล นิ่งๆ ก็ใช้ดูได้ครับ แต่ให้ใช้เยอะหน่อยเท่านั้น
สมมุติว่า น้ำขังในบ้านสูงหนึ่งเมตร พื้นที่ภายในรั้วบ้านกว้าง 5เมตร ยาว 10 เมตร ก็จะเท่ากับปริมาณน้ำ 50 ลบ.ม. ซึ่งก็ใช้ EM Ball ประมาณ 5-10ลูก
– ระดับน้ำ ไม่ควรเกิน 3 เมตร
– ดังนั้นในพื้นที่ ที่มีน้ำไหล สามารถเลือกใช้วิธีการอื่น เช่น การเติมอากาศ จะดีกว่า (ดังเช่นที่ การประปา เลือกที่จะใช้การเติมอากาศลงสู่คลองประปา แทนนั่นเอง)

ขั้นตอนการทำEm-Ball

ขั้นตอนการทำ EM-Ball
  1. – นำรำละเอียด 2 ส่วน รำหยาบ 2 ส่วน ดินทรายละเอียด 1 ส่วน มาผสมกัน คลุกเคล้าให้ทั่ว (บางสูตรอาจจะใช้อัตราส่วนเท่ากันหมดก็ได้ครับ)
  2. – EM 10 ช้อนแกง กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง น้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน
  3. – จากนั้นนำทั้งสอง อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แนะนำว่า ค่อยๆเทน้ำ EM ที่ผสมแล้วลงไปครับ เพราะถ้าเทรวดเดียวหมดแล้วมันเหลวไป ปั้นเป็นก้อนไม่ได้ ก็ต้องไปผสม ส่วนผสมใน ข้อ 1 เพิ่ม
  4. – จากนั้นพอปั้นเป็นก้อน ก็ให้นำไปวางผึ่งลมให้แห้งนะครับ ย้ำว่า ผึ่งลม ถ้าใครเอาไปผึ่งแดด เราจะได้ก้อนดินเท่านั้นครับ เพราะเชื้อตายเอาง่ายๆครับ
  5. – หลังจากนั้นควรเก็บไว้อีกซัก 10-15 วัน เพื่อให้เชื่อเริ่มทำงานนะครับ ใครได้ EM-Ball ใหม่สด เพิ่งแห้ง โยนลงไปอาจจะทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรนะครับ ควรรอซักระยะให้เชื้อเริ่มขยายจำนวนก่อน

Em-Ball คืออะไร

                EM-Ball ที่ว่านั้น EM มาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ โดยต้นกำเนิดนั้นมาจากทางฝั่งประเทศญี่ปุ่น โดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ได้ทดลองใช้เทคนิคทางชีวภาพในการปรับสมดุลของสิ่งแวดล้อม โดยอาศัย กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง อย่างเช่น แลกโตบาซิลัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์ รา เป็นต้น
ซึ่งข้อดีของมันคือ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งโดยปรกติแล้ว หัวเชื้อ EM ที่ได้มักจะเป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ แต่เนื่องจาก การใช้ EM ที่เป็นแบบน้ำนั้นจะทำให้น้ำไหลไปกับสายน้ำ จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในพื้นที่น้ำไหล เหมือนดั่งสภาวะน้ำท่วมในตอนนี้



สารชีวภาพ (EM) EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ จุลินทรีย์ในธรรมชาติมี 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 % 2.กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 % 3.กลุ่มเป็นกลาง จุลินทรีย์กลุ่มนี้ หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือ ร่วมด้วย

จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

1.ประเภทต้องการอากาศ ( Aerobic Bacteria )

2.ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria )

จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและสามารถอยู่ร่วมกันได้ ได้มีการ นำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม ( Families) 10 จีนัส ( Genues ) 80 ชนิด ( Spicies ) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน คุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ


กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน ( N2 ) กรดอะมิโน ( Amino acids ) น้ำตาล ( Sugar ) วิตามิน ( Vitamins ) ฮอร์โมน ( Hormones ) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรค และแมลง ศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆได้ 4

กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย ( Algae ) และพวกแบคทีเรีย ( Bacteria ) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน กรดอินทรีย์ กรดไขมัน แป้ง ฮอร์โมน (Hormones ) วิตามิน ( Vitamins ) ฯลฯ

กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือ ดินก่อโรค ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์หรือเรียกว่า กลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้

• ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ

• ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

• เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี และยาฆ่าเชื้อต่างๆได้

• เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

• EM จะทำงานในที่มืดได้ดีดังนั้น ควรใช้ช่วงเย็นของวัน

• เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

5. ข้อสังเกตพิเศษ



• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำ รดน้ำกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้

• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิม นำไปใช้ได้

• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษ ภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งสถาบันวิจัยการเกษตรธรรมชาติของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ. 1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100 % สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้

1. ใช้กับพืชทุกชนิด

2. ใช้กับการปศุสัตว์

3. ใช้กับการประมง

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

1. ลดต้นทุนการผลิต

2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม

3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี

4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี

5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภค พัฒนาคุณภาพชีวิต

6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้

6 ประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ


การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากการผลิต ที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

วัสดุ-อุปกรณ์ Em-Ball

ส่วนผสมส่วนที่ 1

1. รำละเอียด 1 ส่วน

2. แกลบป่น หรือ รำหยาบ 1 ส่วน
3. ดินทราย 1 ส่วน




* ใช้ โบกาฉิ แทนส่วนที่ 1 หรือใช้โคลนตะกอน แทนดินทรายได้
ส่วนผสมส่วนที่ 2

1. EM 10 ช้อนแกง


2. กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง

3. น้ำสะอาด 10 ลิตร

สมาชิกกลุ่ม

สมาชิกกลุ่ม ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5/1


นายธัชพล สุขมงคล ชั้น ม.5/1 เลขที่ 2


นายรชต โชคชัย ชั้น ม.5/1 เลขที่ 3



นายชานน ตันตรานนท์ ช้ัน ม.5/1 เลขที่ 5


นายสิวัชญ์ บำรุงพงษ์ ชั้น ม.5/1 เลขที่ 6


นายธภัทร ศศิรัตนนิกุล ชั้น ม.5/1 เลขที่ 7


นายนฤดล นิระมาณ ชั้น ม.5/1 เลขที่ 8


นายวัชรากร เมธาอรรถพงศ์ ชั้น ม.5/1 เลขที่ 14


นายอธิป จงกุลมณี ชั้น ม.5/1 เลขที่ 38