วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

Em-Ball คืออะไร

                EM-Ball ที่ว่านั้น EM มาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ โดยต้นกำเนิดนั้นมาจากทางฝั่งประเทศญี่ปุ่น โดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ได้ทดลองใช้เทคนิคทางชีวภาพในการปรับสมดุลของสิ่งแวดล้อม โดยอาศัย กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง อย่างเช่น แลกโตบาซิลัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์ รา เป็นต้น
ซึ่งข้อดีของมันคือ เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งโดยปรกติแล้ว หัวเชื้อ EM ที่ได้มักจะเป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ แต่เนื่องจาก การใช้ EM ที่เป็นแบบน้ำนั้นจะทำให้น้ำไหลไปกับสายน้ำ จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในพื้นที่น้ำไหล เหมือนดั่งสภาวะน้ำท่วมในตอนนี้



สารชีวภาพ (EM) EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ จุลินทรีย์ในธรรมชาติมี 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 % 2.กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 % 3.กลุ่มเป็นกลาง จุลินทรีย์กลุ่มนี้ หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือ ร่วมด้วย

จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

1.ประเภทต้องการอากาศ ( Aerobic Bacteria )

2.ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria )

จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและสามารถอยู่ร่วมกันได้ ได้มีการ นำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม ( Families) 10 จีนัส ( Genues ) 80 ชนิด ( Spicies ) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน คุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ


กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน ( N2 ) กรดอะมิโน ( Amino acids ) น้ำตาล ( Sugar ) วิตามิน ( Vitamins ) ฮอร์โมน ( Hormones ) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรค และแมลง ศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆได้ 4

กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย ( Algae ) และพวกแบคทีเรีย ( Bacteria ) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน กรดอินทรีย์ กรดไขมัน แป้ง ฮอร์โมน (Hormones ) วิตามิน ( Vitamins ) ฯลฯ

กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือ ดินก่อโรค ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์หรือเรียกว่า กลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้

• ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ

• ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

• เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี และยาฆ่าเชื้อต่างๆได้

• เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

• EM จะทำงานในที่มืดได้ดีดังนั้น ควรใช้ช่วงเย็นของวัน

• เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

5. ข้อสังเกตพิเศษ



• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำ รดน้ำกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้

• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิม นำไปใช้ได้

• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษ ภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งสถาบันวิจัยการเกษตรธรรมชาติของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ. 1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100 % สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้

1. ใช้กับพืชทุกชนิด

2. ใช้กับการปศุสัตว์

3. ใช้กับการประมง

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

1. ลดต้นทุนการผลิต

2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม

3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี

4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี

5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภค พัฒนาคุณภาพชีวิต

6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้

6 ประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ


การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากการผลิต ที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น